วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นำเสนองาน

ภาพสมาชิกและรูปโมเดล


สมาชิกในกลุ่ม






โมเดลของกลุ่มเรา

วิวัฒนาการโทรทัศน์ในประเทศไทย กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

          หากมองย้อนไปในอดีตนับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2495 ที่ประเทศไทยได้เริ่มแพร่ภาพออกอากาศโดยสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหมเป็นครั้งแรกนั้นถือว่าเป็นยุคบุกเบิกวงการโทรทัศน์ในประเทศไทย แต่ทั้งนี้วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีมิได้หยุดอยู่กับที่ต่อกิจการวิทยุ โทรทัศน์ที่เริ่มแรกให้บริการในระบบอนาล็อคที่ย่านความถี่ VHF และ UHF ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นก็ได้มีออกอากาศผ่านดาวเทียม หรือดิจิตอลทีวีที่ใช้ความสามารถในการบีบอัดสัญญาณเพื่อให้คลื่นความถี่ สามารถนำไปใช้งานได้มากขึ้น และสำหรับเทคโนโลยีสุดท้ายที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ คือ ไอพีทีวี เป็นการประยุกต์ใช้งานโดยเอาเทคโนโลยีด้านโทรทัศน์ซึ่งเป็นการแพร่สัญญาณภาพ และเสียงผ่านทางคลื่นความถี่มาใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบมัลติมีเดีย จึงสามารถให้บริการได้ทั้งภาพ เสียงและข้อมูลได้พร้อมกัน หรือที่เรียกว่า Triple play

          ดังจะเห็นได้จากในอดีตที่ประเทศไทย โดยกรมประชาสัมพันธ์ได้สร้างสถานีวิทยุโทรทัศน์และจัดออกอากาศในระบบอนาล็อค ความถี่ที่นำมาใช้งานย่านความถี่ TV ย่าน I (ช่อง 2-6) ความถี่ 54 MHz – 88 MHz (VHF)- TV ย่าน III (ช่อง 7 – 13) ความถี่ 174 MHz – 216 MHz (VHF)- TV ย่าน IV- & V (ช่อง 14 – 69) 470 MHz – 806 MHz (UHF) -

          โดยมีสถานีดังนี้ คือ ช่อง 3, 5, 7, 9 และช่อง 11 และในปี พ.ศ. 2538 ได้เกิดสถานีโทรทัศน์สีเพิ่มขึ้นมาอีก 1สถานี คือ สถานีโทรทัศน์ทีวีเสรี หรือ ITV (Independent Television) โดยได้รับอนุมัติสัมปทานอย่างเป็นทางการ สถานีวิทยุโทรทัศน์ ITV หรือทีวีเสรี ส่งสัญญาณแพร่ภาพวิทยุโทรทัศน์ออกอากาศในระบบ UHF หรือ Ultra High Frequency ตามมาตรฐาน PAL-G ปัจจุบัน ITV ได้เปลี่ยนชื่อเป็น TITV

          เนื่องจากไทยทีวีสีช่อง 3 ได้ขอให้ บมจ. อสมท ขอให้หน่วยราชการจัดสรรความถี่วิทยุย่าน UHF ให้กับไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งได้รับอนุมัติ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 ในกรุงเทพมหานครกำหนดออกอากาศที่ช่อง 32 ย่านความถี่ 558 – 566 MHz เป็นระบบ UHF และได้ออกอากาศอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2548 เป็นต้นมา





          โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม (Satellite Television) ถือว่าเป็นการเปิดยุคสื่อรูปแบบใหม่ ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ธุรกิจแพร่ภาพโทรทัศน์มีการเปลี่ยน แปลงเกิดขึ้น โดยเฉพาะการเติบโตของธุรกิจโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งรัศมีของสัญญาณดาวเทียมสามารถส่งสัญญาณออกอากาศได้ครอบคลุมหลายพื้นที่ โดยผู้ลงทุนไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งเสาสัญญาณเพียงพัฒนาเนื้อหาหรือรายการที่ ออกอากาศ และขอใบอนุญาตส่งสัญญาณโทรทัศน์ก็สามารถให้บริการได้ ในปัจจุบันมีธุรกิจโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมออกอากาศทั่วโลกเป็นจำนวนมากในหลาย ประเทศโดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐ สำหรับในประเทศไทยเองก็มีผู้ประกอบการหลายรายให้ความสนใจที่จะเปิดให้บริการ โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามการให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในประเทศไทยนั้นยังติดขัด ปัญหาทางด้านระเบียบในการออกอากาศ เนื่องจากยังไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ แห่งชาติ หรือ กสช. ที่จะเข้ามาจัดสรรคลื่นความถี่และออกใบอนุญาตประกอบกิจการใหม่ให้กับผู้ ประกอบการไทยได้ แม้ว่าในช่วงที่อยู่ระหว่างการสรรหาคณะกรรมการ กสช. นั้นจะมีหน่วยงานดูแลแต่ก็ไม่สามารถออกใบอนุญาตใหม่ให้กับผู้ให้บริการรายใด เพิ่มเติมได้อีก โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็นไปตามกระแสโลกกับการพัฒนาของเทคโนโลยีในปัจจุบันทำ ให้การแพร่ภาพสัญญาณและการใช้ความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การออกอากาศในระบบดิจิตอลทำให้ช่วงคลื่นหนึ่งสามารถบีบอัดสัญญาณให้สามารถ ออกอากาศได้ถึง 30 ช่อง จากเดิมการใช้เทคโนโลยีอนาล็อกสามารถออกอากาศได้เพียง 1 ช่องเท่านั้น ทำให้สามารถมีสถานีโทรทัศน์ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาก็มีการเปิดให้บริการ "โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม" สำหรับออกอากาศในประเทศไทยเกิดขึ้นหลายราย โดยเลี่ยงไปออกอากาศโดยใช้คลื่นความถี่ของประเทศอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับประเทศไทย เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง ลาว กัมพูชา โดยการส่งเนื้อหารายการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและออกอากาศโดยผ่านสัญญาณ ดาวเทียมจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ โดยมีเป้าหมายผู้ชมในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการอีกส่วนหนึ่งที่ออกอากาศโดยผ่านเครือข่ายดาว เทียมในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นกิจการโทรทัศน์ที่ยังไม่ได้การอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ของประเทศ และเกิดปัญหาการละเมิดสิทธิ์การออกอากาศโดยผ่านทางคลื่นความถี่ในประเทศไทย จากผู้ให้บริการหลายรายอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้ยังประสบกับปัญหาการนำเสนอรายการที่ก่อให้เกิดปัญหาความมั่นคงของ ประเทศด้วย นอกจากนี้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทำให้รูปแบบของการออกอากาศมีความหลากหลายมาก ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น IPTV (internet protocol TV) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile TV) ซึ่งนับเป็นเทรนด์การออกอากาศที่น่าจับตามอง เพราะมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนผู้ใช้บริการสื่อเหล่านั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำมาซึ่งความยุ่งยากในการบริหารจัดการของหน่วยงานที่ต้องเข้ามารับผิด ชอบในการใช้สื่อต่างๆ และต้องเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมทั้งทางด้านกฎระเบียบที่จะเข้ามาควบคุม และจัดระเบียบการให้บริการให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมจะพัฒนาให้การนำทรัพยากร คลื่นความถี่ไปใช้อย่างเกิดประโยชน์ต่างๆ ต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมหลายประการ สำหรับความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจของทีวีดาวเทียมนั้น แม้ว่าจะมีแนวโน้มความเป็นไปได้สูงเมื่อเทคโนโลยีใหม่นั้นทำให้การลงทุนใน การให้บริการ


  


          ดิจิตอลทีวี (Digital Television) ดิจิตอล ทีวี จะเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อประกอบธุรกิจสื่อทีวีและวิทยุ ทุกราย คุณสมบัติที่สำคัญของเทคโนโลยีดิจิตอล คือ ความสามารถในการบีบอัดสัญญาณ เพื่อให้คลื่นความถี่สามารถนำไปงานได้มากขึ้น ดังในกรณีของคลื่นวิทยุการแบ่งช่องความถี่วิทยุบนหน้าปัดเดิมจะแบ่งกันให้มี ช่องห่างระหว่างสถานี 0.5 MHz แต่ปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีที่มีช่องห่างระหว่างสถานี 0.25 MHz มาใช้ในระบบ FM จะเห็นได้จากสถานีวิทยุชุมชนในปัจจุบัน ซึ่งในบางประเทศก็ได้มีการนำมาใช้งานแล้ว นั่นหมายความว่า คลื่นความถี่วิทยุระบบ FM ในเมืองไทยที่เคยมีอยู่ 527 คลื่นความถี่ จะมีคลื่นความถี่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เช่นเดียวกับสถานีโทรทัศน์เทคโนโลยีดิจิตอลที่สามารถบีบอัดสัญญาณจะส่ง ผลให้สถานีโทรทัศน์มีช่องรายการเพิ่มขึ้นมากมายจากคลื่นความถี่เพิ่มขึ้น เปรียบง่ายๆ ก็เหมือนกับเคเบิ้ลทีวีในเวลานี้ที่มีช่องรายการมากกว่า 30 ช่อง ตัวอย่าง ภาคส่งของสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ได้รับการพัฒนาไปเป็นระบบดิจิตอลแล้ว โดยการยิงสัญญาณดาวเทียม 1 ทรานสปอนเดอร์ จะทำให้สามารถส่งได้ถึง 4 ช่อง เมื่อเครื่องรับเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล หรือใช้วิธีติดตั้งอุปกรณ์ Set top box ที่มีความสามารถในการแยกสัญญาณ ดังนั้นคาดว่า ภายในเวลา 5 ปี ดิจิตอลทีวีจะเข้าสู่ประเทศไทย เครื่องรับ High definition TV ที่รองรับเทคโนโลยีดิจิตอลจะเข้ามาแทนที่เครื่องรับโทรทัศน์ตามบ้านใน ปัจจุบัน ช่องสัญญาณของสถานีโทรทัศน์หลักที่ปัจจุบันออกอากาศได้เพียง 1 ช่องต่อ 1 สถานี จะถูกแตกเป็นหลายช่องสัญญาณเป็นฟรีทีวีที่สถานีโทรทัศน์สามารถหาโฆษณาได้ เพิ่มมากขึ้น สำหรับในอนาคตข้างหน้า เทคโนโลยี Digital convergence จะทำลายพรหมแดนในเรื่องของความแตกต่างของเทคโนโลยีให้หมดไปสิ้น




          ไอพีทีวี (Internet Protocol Television :IPTV) ไอพีทีวี มีชื่อเต็มมาจากคำว่า Internet Protocol Television : IPTV เป็นการประยุกต์ใช้งานโดยเอาเทคโนโลยีด้านโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการแพร่สัญญาณภาพและเสียงผ่านทางคลื่นความถี่มาใช้งานบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตแบบมัลติมีเดียจึงให้บริการได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลได้พร้อมกัน หรือที่เราเรียกว่า Triple play และกำลังได้รับความนิยมอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ โดยมีผู้ให้บริการมากกว่า 30 รายทั่วโลก ที่เปิดให้บริการ หรือกำลังวางแผนพัฒนาบริการประเภทนี้ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เป็นต้น จุดเด่นที่แตกต่างของไอพีทีวีจากฟรีทีวีช่อง 3, 5, 7, 9, 11 และ ทีไอทีวี รวมถึงเคเบิลทีวีอย่างยูบีซี (UBC) ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น True Vision คือ ไอพีทีวี เป็นการเสพความบันเทิงบนการสื่อสารแบบ 2 ทาง (Two aycommunications) ตลอด 24 ชั่วโมง ในรูปแบบของ อินเตอร์แอ็กทีฟทีวี (Interactive TV) คือ ผู้ชมสามารถโต้ตอบกลับไปยังสถานีโทรทัศน์ได้ ซึ่งจะแตกต่างจากระบบโทรทัศน์แบบเก่าที่ไม่สามารถโต้ตอบกลับไปยังสถานี โทรทัศน์ได้ทันท่วงที โดยการเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมโดยตรงกับรายการที่ออกอากาศ ตัวอย่างเช่น การดูรายการเกมส์โชว์ เล่นเกม ตั้งกระทู้ ส่งเอสเอ็มเอสโหวต (SMS Vote) และการแสดงความคิดเห็น สนทนาสดในรายการทอล์กโชว์ผ่านโทรศัพท์ แชตผ่านอินเทอร์เน็ตโดยใช้ห้องแชตหรือเว็บแคม (Chat room or Web Cam) สนทนาแบบเห็นภาพผ่านวิดีโอโฟน (Videophone) ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (3G) เป็นต้น

          ไอพีทีวีสามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์ได้หลากหลาย ซึ่งต้องเป็นอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Personal Computer : PC) เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) พีดีเอ (PDA) โทรศัพท์มือถือ หรือกล่องอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับโทรทัศน์ ซึ่งรูปแบบในการเชื่อมต่อที่หลากหลายนี้จะทำให้ลดข้อจำกัดในการรับชมข้อมูล ข่าวสาร และความบันเทิงต่างๆ ได้ ขอเพียงให้สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต




          ปัญหาที่เกิดจากการนำเอาเทคโนโลยีไอพีทีวีมาใช้งาน อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่นำเสนอข้อมูลอย่างเสรี ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างอิสระ การเปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตสามารถกระทำได้ง่ายและไม่ต้องลงทุน มาก จึงเป็นช่องทางให้เกิดรูปแบบในการให้บริการอย่างที่ไม่เหมาะกับผู้ชม การเผแพร่ข่าวอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ





ที่มา :  http://www.adslthailand.com/forum/viewtopic.php?t=65190

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วิวัฒนาการโทรทัศน์ไทย

ความหมายของโทรทัศน์

          คำว่า "โทรทัศน์" (Television) เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษากรีก และลาติน มีความหมายว่า "การเห็นได้ไกล"
          โทรทัศน์ คือ กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงจากรูปภาพด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นด้วยการเปลี่ยนพลังงานแสง ซื่งเราสามารถมองเห็นด้วยตาให้เป็นพลังงานไฟฟ้าและส่งไปตามสายหรือออกอากาศ โดยมีกล้องโทรทัศน์เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงนี้
          โทรทัศน์ หมายถึง ระบบการส่งภาพและเสียงไปพร้อมๆกันด้วยเครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสื่อสารตามเป้าประสงค์ และโทรทัศน์เพื่อการศึกษาจะเน้นรายการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาโดยเพราะทั้งระดับการสอนในชั้นเรียนและระดับการจัดรายการสถานีโทรทัศน์
         
วิวัฒนาการโทรทัศน์ไทยแบ่งเป็น 6 ยุค คือ

1. ทศวรรษ 2490 ยุคบุกเบิกโทรทัศน์ไทย(2491-2499)
2. โทรทัศน์กับเครื่องมือทางการเมือง(2500-2509)
3. ยุคเติบโตและการก้าวสู่โทรทัศน์ระบบสี(2510-2519)
4. การพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง(2520-2529)
5. ยุคทองของโทรทัศน์ไทย(2530-2539)
6. การแข่งขันทางธุรกิจภายใต้เศรษฐกิจยุคฟองสบู่แตก


1. ทศวรรษ 2490 ยุคบุกเบิกโทรทัศน์ไทย(2491-2499)
         
ในตอนแรกจะจัดตั้งสถานีโทรทัศน์โดยใช้งบประมาณแผ่นดิน แต่เนื่องจากประเทศยังประสบปัญหาด้านการเงินอยู่ จนมีคนคัดค้านเรื่องนี้พอสมควร สุดท้ายจึงมีการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นภายใต้ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท  ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปดูงานและฝึกอบรมด้านโทรทัศน์ที่บริษัท อาร์ซีเอ ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีการประกวดราคาเครื่องรับส่งโทรทัศน์และการเตรียมงานด้าน เทคนิคโทรทัศน์ขึ้น และในช่วงทศวรรษนี้ กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ ได้ทรงบัญญัติศัพท์ วิทยุโทรทัศน์ ขึ้นใช้วันที่ 24 มิถุนายน 2498 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำพิธีเปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหมขึ้น เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย และออกอากาศในระบบขาวดำ รายการในระยะแรกเป็นรายเพื่อความบันเทิง เช่น นำลิเกมาเล่นสดออกทีวี มีรายการสนทนา รายการตอบคำถามชิงรางวัล และ ละคร

2. โทรทัศน์กับเครื่องมือทางการเมือง(2500-2509)


          โทรทัศน์ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการทหารและการเมือง ระหว่าง จอมพล ป. พิบูลสงคราม และ จอม พลสฤษดิ์ ธนรัชต์
           จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ยึดอำนาจได้จากการปฏิวัติและได้ริเริ่มแนวคิดในการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์แห่ง ที่ 2 ขึ้นในประเทศไทย โดยใช้งบประมาณจากหน่วยงานทหารในการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ระบบขาวดำ) ขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสร้างสัมพันธ์ระหว่างทหารและประชาชน และได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2501 (ปัจจุบันสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ขาวดำ ได้เปลี่ยนมาออกอากาศในระบบสีภายใต้ชื่อสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5)
          ดังนั้น ในยุคนี้ มีโทรทัศน์ในไทยแล้ว 2 ช่อง คือ สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม และ ตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ระบบขาวดำ)

3. ยุคเติบโตและการก้าวสู่โทรทัศน์ระบบสี(2510-2519)

            วันที่ 27 พฤศจิกายน 2510 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพออกอากาศในระบบสีเป็นสถานีแรกในประเทศไทย ภายใต้การดำเนินการของบริษัทกรุงเทพฯและวิทยุ จำกัด ซึ่งได้รับสัมปทานจากกองทัพบก โดยออกอากาศการถ่ายทอดการประกวดนางสาว
            ไทยป็นรายการแรก 26 มีนาคม 2513 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการในระบบสี ถือเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 2 ของประเทศไทยที่ออกอากาศในระบบสี ภายใต้การดำเนินการของ บริษัทบางกอก เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด  เมื่อมีโทรทัศน์สีเกิดขึ้นสองช่อง ทำให้โทรทัศน์ระบบขาวดำต้องปรับตัวเองเพื่อให้แข่งขันได้ในตลาด
           ในปี 2517 ถือเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้านเทคโนโลยีโทรทัศน์ของประเทศไทย เพราะสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศในระบบขาวดำ 2 ช่องที่มีอยู่เดิมได้เปลี่ยนระบบออกอากาศมาเป็นระบบสี คือ
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 (ระบบขาวดำ) เปลี่ยนมาเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 (ระบบสี)
สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ระบบขาวดำ) เปลี่ยนมาเป็น สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 (ระบบสี)

4. การพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง(2520-2529)

            เมื่อเกิดโทรทัศน์สีแล้ว ทุกช่องก็ต่างต้องแข่งขันกันอย่างเต็มที่ โดยสถานีโทรทัศน์ทุกช่องแข่งกันปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพระบบสีของตัวเอง แต่จากเหตุการณ์ที่เริ่มมีการควบคุมสื่อในการนำเสนอข่าวสารมากขึ้น และการแสดงความคิดทางการเมืองก็ถูกควบคุมอย่างเข้มงวด ทำให้สถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ มุ่งเน้นนำเสนอความบันเทิง และมุ่งผลิตรายการที่จะทำให้ได้ผลกำไรทางธูรกิจ
ในยุคสมัยนี้มีการนำเข้าละครจีนที่เป็นหนังชุดหลายเรื่องจนได้รับความนิยมและสร้างเรตติ้งให้สถานีโทรทัศน์อย่างมาก
          ด้านบริษัทไทยโทรทัศน์นั้นถูกยุบด้วยเหตุผลว่าขาดทุน และก่อตั้งขึ้นเป็นองค์การสื่อสารมวลชนมาบริหารงานสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 แทน

5. ยุคทองของโทรทัศน์ไทย(2530-2539)

ทศวรรษนี้ถือเป็นยุคทองของกิจการโทรทัศน์ไทยเนื่องจากเป็นทศวรรษที่ ประเทศไทยมีครบทั้งโทรทัศน์ประเภทรับชมได้โดยไม่เสียค่าสมาชิก หรือ ฟรีทีวี (Free TV) และ โทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก (Subscription TV) นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในช่วงขาขึ้น ซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมโทรทัศน์ในประเทศไทยเติบโตเป็นอย่างมาก
ในทศวรรษนี้มีเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนี้ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2531 มีการทดลองออกอากาศสถานีโทรทัศน์สีแห่งประเทศไทยช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ขึ้น ซึ่งเป็นสถานีที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่น เพื่อทำหน้าที่เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของทางราชการสู่ประชาชน และเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมไปถึง การเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ตลอดจนเป็นสถานีโทรทัศน์แม่ข่ายให้แก่ สถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาค ในเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ(ปัจจุบันก็คือ ส.ท.ท 11)  นอกจากนี้ ยังมีการก่อตั้งโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกขึ้น 3 รายคือ
เดือนตุลาคม 2532 สถานีโทรทัศน์ ไอบีซี เคเบิ้ล ทีวี เริ่มดำเนินกิจการธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกรายแรกของประเทศ ภายใต้การดำเนินงานโดย บริษัท อินเตอร์เนชันแนล บอร์ดคาสติ้ง คอร์เปอเรชั่น จำกัด
ปี พ.ศ. 2533 สถานีโทรทัศน์ ไทยสกาย เคเบิ้ล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก ภายใต้การดำเนินการของบริษัทสยามบอร์ดคาสติ้ง จำกัด (ต่อมาได้ยุติการดำเนินธุรกิจลงในปี 2540 เนื่องจากประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ)
พ.ศ. 2537 บริษัทยูทีวี เคเบิ้ล เน็ตเวิร์ค จำกัด เริ่มดำเนินการธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกในนามของ ยูทีวี
พ.ศ. 2537 สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เริ่มดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ภายใต้ปรัชญาทีวีเสรี โดยมีบริษัทสยามเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นผู้รับสัมปทาน และดำเนินการบริหารสถานี ต่อมาสถานีโทรทัศน์ไอทีวี มีการเปลี่ยนสมาชิกผู้ถือหุ้น และการซื้อขายกิจการผ่านตลาดหลักทรัพย์ จนภายหลังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อ เป็นสถานีโทรทัศน์ระบบยูเฮชเอฟทีไอทีวี และเข้ามาอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักนายกรัฐมนตรี จากนั้นในเวลาต่อมาสถานีโทรทัศน์ระบบยูเฮชเอฟทีไอทีวีต้องยุติการออกอากาศไป โดยช่องสัญญาณดังกล่าวได้นำมาใช้ส่งสัญญาณสถานีโทรทัศน์สาธารณะช่องทีพีบี เอสแทน
นอกจากนี้ ในยุคนี้ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศเติบโต สื่อมีรายได้มากขึ้นจากเม็ดเงินของโฆษณาจากภาคธุรกิจ ทำให้สื่อโทรทัศน์มีเงินลงทุนในการผลิตรายการดีๆ และมีคุณภาพมากขึ้น ในช่วงนี้ มีการผลิตรายการต้นทุนสูง เช่น ละครที่มีการลงทุนมาก ไปถ่ายทำต่างประเทศ รายการต้นทุนสูง ถ่ายทำนอกสถานที่ หรือแม้แต่ข่าวภาคภาษาอังกฤษ     อย่างไรก็ตาม รายการโทรทัศน์ก็ยังมุ่งเน้น ความบันเทิง อยู่นั่นเอง

6.  การแข่งขันทางธุรกิจภายใต้เศรษฐกิจยุคฟองสบู่แตก
          สภาพเศรษฐกิจในทศวรรษ 2540 ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยสถานีโทรทัศน์ต่างต้องปรับตัว และบริหารสถานีให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง เขตเศรษฐกิจในยุคฟองสบู่แตก เหตุการสำคัญเกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์ในทศวรรตนี้ มีดังนี้
     วันที่ 10 พฤศจิกายน 2540 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 ได้จัดตั้งโครงการ  Thai TV Global Network ขึ้นเพื่อเผยแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ไทยผ่านดาวเทียมไปยังประเทศต่างทั่วโลก
     วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 ยูทีวี และ ไอบีซี ตัดสินใจรวมกิจการ กันเนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระทางการเงิน ที่เกิดจากสภาพปัญหาเศรษฐกิจในขณะนั้น โดยได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อเป็น บริษัท ยูไนเต็ด บอร์ดคาสติ้ง คอร์ปเปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และออกอากาศโทรทัศน์ประเภทบอกรับเป็นสมาชิก ภายใต้ชื่อ ยูบีซี (ต่อมาในปี 2549 ยูบีซีได้เปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหญ่ และเปลี่ยนชื่อมาเป็น ทรูวิชั่นส์)
     เดือนมิถุนายน 2548 องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยได้เริ่มทำการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) โดบสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อสมท. ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี




ที่มา : http://www.oknation.net/blog/rt201dpu/2009/07/05/entry-2#top

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความหมายของโทรทัศน์

         คำว่า "โทรทัศน์" (Television) เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษากรีกและลาติน มีความหมายว่า "การมองเห็นได้ไกล"
         โทรทัศน์ คือ กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงจากรูปภาพด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ การเปลี่ยนแปลงนี้ จะเกิดขึ้นด้วยการเปลี่ยนพลังงานแสง ซึ่งเราสามารถเห็นด้วยตาให้เป็นพลังงานไฟฟ้า และส่งไปตามสายหรือออกอากาศ โดยมีกล้องโทรทัศน์เป็นเครืองมือในการเปลี่ยนแปลง
          โทรทัศน์ หมายถึง ระบบการส่งภาพและเสียงไปพร้อมๆกันด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสื่อสารตามเป้าหมายและโทรทัศน์เพื่อการศึกษาจะเน้น รายการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษา โดยเฉพาะทั้งระดับการสอนในชั้นเรียน และระดับการจัดรายการที่สถานีโทรทัศน์